วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554


ชื่อพื้นเมือง : กล้วยตับเต่า กล้วยเต่า (ราชบุรี), ไข่เต่า ตับเต่า ตับเต่าน้อย (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia debilis Finet et Gagnep.


ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน จนถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก เส้นแขนงใบข้างละ 7-10 เส้น ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมกลายๆ กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่เป็นกลุ่มบนแกนกลางดอก เกสรเพศเมีย 4 อัน อยู่ที่ปลายของแกนกลางดอก ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลรูปทรงกระบอก คอดระหว่างเมล็ด ปลายเรียวแหลม มีขนสั้นอ่อนนุ่ม


ประโยชน์ : ผลสุกสีเหลืองกินได้


ต้นเปราะ




ต้นเปราะที่พบในป่าเมืองไทยมีมากมายหลายชนิด ขึ้นกระจายพันธุ์ทั่วประเทศ พบว่ามีอยู่ประมาณ 17 ชนิด เปราะเป็นไม้ที่อยู่ในสกุล Kaempferia ssp. วงศ์ ZINGIBERACEAE (วงศ์เดียวกับพวกขิง ข่า กระทือและไพล แต่อยู่ต่างสกุลกัน) ในแต่ละชนิดจะมีชื่อท้องถิ่น ที่เรียกแตกต่างกันไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของต้นเปราะเป็นพืชล้มลุก
อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า
เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มหรือสีอื่นๆก็มี เหง้า
มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจาก
ใต้ดิน 2-3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบ
เหนือพื้นดินเล็กน้อย หรือเหนือผิวดิน ใบมีรูปร่างหลายแบบ ทั้งค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ใบยาวรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนาตัวใบมีขนาด ใบมีหลายสีแล้วแต่ชนิด เช่นสีเขียว สีออกแดงดำ เป็นลายก็มี ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 ซม.มี
4-12 ดอกแล้วแต่ละชนิด ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาว
หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง หรือสีขาวไส้เหลือง แต่ละดอกมี กลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก ผลเป็นผลแห้งแตกได้
ต้นเปราะ ชอบดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้นเพียงพอ เจริญได้ดีในที่ร่ม ไม่ชอบแสงแดดจัด
ประโยชน์ เหง้าต้นเปราะใช้เป็นเครื่องเทศและเครื่องยา
ใบสดเป็นผักจิ้ม น้ำคั้นจากใบและเหง้าใช้ป้ายคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ
ศ.ดร.โสภณ เริงสำราญ จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงงานวิจัยเกี่ยว
การคัดกรองพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอ็นไซม์
รีเวอร์ส์ทรานสคริปเทสของเชื้อไวรัสเอชไอวีซึ่งได้รับทุน
อุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติว่า
ได้ใช้เวลาค้นคว้าพืชสมุนไพรตระxxxลขิงเกือบ 20 ชนิด
เพื่อจะหาสารสำคัญที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์เวอรัสฯ และหาองค์ประกอบ
ทางเคมีของพืชตระxxxลขิงโดยพบว่า พืชจำพวกขมิ้นชัน
ขมิ้นอ้อย กระชายดำ เปราะหอม มีฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์ดังกล่าวได้ดีพอสมควร
แต่ในการวิจัยได้คัดเลือกพืช 6 ชนิด ได้แก่ กระชายดำ เปราะหอม
ขิงแห้ง ว่านร่อนทอง ว่านทองคำ และขมิ้นดำดงมาทำการแยกสาร
ให้บริสุทธิ์โดยวิธีทางโครมาโทรกราฟี และพบสารบริสุทธิ์จำนวน 30 ชนิด
หลังจากนั้นได้ทำการวัดค่าการต้านเอ็นไซม์อีก
และพบสารเพียง 4 ชนิด จากเปราะหอมที่สามารถต้านเอ็นไซม์
ได้แก่ ethy1 p-methoxy cinnamate และ p-methoxy cinnamic acid
ศ.ดร.โสภณ กล่าวอีกว่า ก่อนที่จะนำพืชดังกล่าวข้างต้น
มาทำการวิจัยได้มีการทดสอบพิษวิทยา และทดสอบทางคลีนิกกับ
ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มาขอรับยาประมาณกว่า 1,000 ราย
พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อเอชไอวีได้ในระดับหนึ่งและคณะวิจัยไ
ด้ทำการติดตามประเมินผลผู้ป่วย ซึ่งปรากฏผลที่น่าพอใจ
อย่างไรก็ดี การนำสมุนไพรตระxxxลขิงมารับประทานในรูปอาหาร
ผักสดก็สามารถทำได้ แต่ทานได้ไม่มากเนื่องจากมีรสชาติเผ็ด
หากนำมาผ่านกระบวนการทางเคมี แปรรูปเป็นสารบริสุทธิ์ก่อน
และทำเป็นแคปซูลก็จะสะดวกกว่า จึงนับว่า
สมุนไพรไทยเป็นหนทางหนึ่งในการต้านเชื้อเอชไอวี

สรรพคุณ
เหง้า มีรสร้อน หอม จึงมีสรรพคุณใช้แก้อาการปวดท้อง
ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม โดยใช้เหง้ามาหั่นเป็นชิ้นๆ
ใช้ครั้งละ -1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 10-15 กรัม น้ำหนักแห้ง
5-10 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้งวดลงเหลือ 1 ใน 3
แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่ม หรือคั้นเอาน้ำจากใบหรือเหง้า
ป้ายบรรเทาอาการเจ็บคอ ใช้สระล้างศรีษะ เพื่อป้องกันรังแค
หัวของเปราะหอมมีกลิ่นหอมใช้ปรุงแต่งกลิ่น
ทางใต้นิยมนำหัวเปราะหอมใส่ในน้ำพริกเพื่อให้มีกลิ่นหอม
ต้น รสเผ็ดขม ขับเลือดเน่าของสตรี
ว่านหอมเป็นเครื่องสำอางในการบำรุงผมชั้นยอด
ยาสระผมของคนอีสานจะมีการใช้ว่านหอม
ผสมกับในส้มโมง (ใบชมวง) แน่งหอม (เร่วขน)
ขมิ้น ต้มกับน้ำมวก ( น้ำแช่ข้าวเหนียวก่อนที่จะนำไปนึ่ง)
ใช้น้ำที่ได้ไปสระผมโดยไม่มีการใช้ยาสระผม
ในท้องตลาดแต่อย่างใด ผมจะดกดำเป็นเงางาม
และมีกลิ่นหอมติดเส้นผม อันเป็นที่มาของตำนานนางผมหอมอันโด่งดัง
เป็นยาแก้ปวดหัวคลายเครียด
คนสมัยก่อนใช่เปราะหอมรักษาอาการปวดหัวดิบ
(ปวดหัวตึบๆไม่ทราบสาเหตุ) หรือมีความเครียด
จะโขลกทั้งหัวและใบใส่น้ำลงไปพอชุ่มเอาผ้าไปชุบ
แล้วนำผ้าไปคลุมหัวไว้(ซึ่งน่าจะเป็นการรักษาโดยอโรมาเธอราปีส์แบบไทยๆ)
รวมทั้งมีการผสมใส่ลงไปในยาหอมเพื่อบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท
ทั้งยังมีการแนะนำให้ใช้หัวว่านหอมต้ม
หรือชงกินเพื่อช่วยทำให้นอนหลับ คลายเครียด
เป็นยาแก้ปวดท้อง
เปราะหอมถือเป็นยาขับลมแก้ปวดท้องชั้นยอด
โดยการใช้หัวสดๆคั้นน้ำหรือต้มกินก็ได้
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า สารสกัดจากหัวเปราะหอม
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กคลายตัว บรรเทาอาการปวดท้องได้
เป็นยาแก้ปวด บวม
ในสมัยก่อนถ้ามีอาการปวดบวม จะนำหัวว่านหอมมา
โขลกหรือทุบใส่น้ำพอชุ่มเอาผ้ามาชุบแล้วเอามาพัน
บริเวณที่ปวดบวม ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน
พบว่าว่านหอมมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งเปราะหอมเป็นพืชตระxxxลขิง
ข่า พืชตระxxxลนี้มักจะมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ
จึงนิยมใช้ทำลูกประคบหรือเคี่ยวกับน้ำมันไว้ทาแก้ปวดเมื่อย
เป็นยาแก้หวัดคัดจมูกในเด็กเล็ก
ว่านหอมเป็นที่นิยมใช้โขลกสุมหัว(เอาไปไว้บนกระหม่อมเด็ก)
แก้หวัดดจมูกในเด็กและยังเชื่อว่าทำให้กระหม่อมปิดเร็วขึ้น
การรักษาโดยวิธีนี้น่าจะเป็นการรักษาอโรมาเธอร์ราปีส์
แบบไทยแบบหนึ่ง ทำให้เด็กไม่ต้องได้รับสารเคมีตั้งแต่อายุยังน้อย
ผมขอยกตัวรายชื่อต้นเปราะที่พบในประเทศไทยดังนี้
ปราบสมุทร/ฒ่าหนังแห้ง Kaempferia angustifolia Roscoe
ดอกดิน K. candida Wall.
เปราะใหญ่ K. elegans (Wall.) Baker
เปราะลวง K. fallax Gagnep.
ว่านลาวัลย์ K. faotica Gagnep.
เปราะใบแคบ/บานค่ำน้อย K. filifolia K.Larsen
เปราะหอม/หอมเปราะ/ว่านตีนดิน/ว่านแผ่นดินเย็น/ว่านหอม K. galanga L.
เปราะนวล K. glauca Ridl.
เปราะราศรี K. larsenii Sirirugsa
เปราะป่า/เปราะเถื่อน K. marginata Carey
กระชายดำ K. parviflora Wall. ex Baker
เปราะป่า K. pulchra (Ridl.) Ridl.
เปราะป่า K. roscoeana Wall.
ว่านหาวนอน/ว่านดอกดิน/ว่านตูหมูบ/ว่านนอนหลับ/ว่านส้ม/เอื้องดิน
K. rotunda L.
กระชายไทย K. siamensis Sirirugsa (คนละต้นกับต้นกระชาย)
ว่านหางนกยูง K. speciosa Baker
ว่านสมประสงค์ K. spoliata Sirirugsa
นี่คือรายชื่อของต้นเปราะที่พบในป่า ของบ้านเราครับ

ต้นเปราะป่า Kaempferia marginata Carey ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน ใช้ เหง้าใต้ดิน ตำพอก แก้อาการอักเสบเนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือผสมใบหนาดใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพาต
ใบและเหง้าสดรับประทานเป็นผักได้

ไม้สกุลเปราะหรือไม้วงศ์ขิงข่า ทุกชนิด จะขยายพันธุ์ด้วยเหง้าครับ โดยการแบ่งเหง้าปลูก ดินที่เขาชอบมากที่สุดคือดินร่วนผสมอินทรีวัตถุ หรือดินดำ ดินมีการระบายน้ำดี ไม่ขังแฉะ ความความชุ่มชื้นสูง แต่ไม่ชอบแ เพราะจะทำให้เหง้าเน่า และตายได้ ไม้ในสกุลKaempferia ทั้งหมด จะแตกใบและออกดอก เจริญเติบโตในช่วงหน้าฝน และทิ้งใบหรือลงหัวในช่วงหน้าหนาว-หน้าร้อนหรือเรียกว่า หยุดพักการเจริญเติบโตหรือจำศีล การนำมาเหง้ามาใช้ประโยชน์ทางยาหรือสมุไพร สำหรับไม้มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ช่วงนี้จะเป็นช่วงมีสารอาหารและเคมีมากที่สุด สำหรับนำมาใช้ในการรักษาโรคครับ เมื่อ เข้าหน้าฝนเมื่อไรหรือมีฝนโปรยปรายมาเมื่อใด เขาก็จะเริ่มแตกใบเจริญเติบโตต่อไปครับ แต่ถ้าเรานำมาปลูกเลี้ยงเองในกระถางถ้าไม่ให้เขาหยุดพักตัว เราต้องมีการให้น้ำเขาต่อเนื่องไป เขาก็จะไม่หยุดพักลงหัวครับ

ที่มา : http://www.countryhome.site88.net/web/readarticle.php?article_id=94

หน้าแรก

อาหารของไทย เรา  มีมากมายหลายอย่าง   ที่มีรสชาดอร่อย   บางท่านอาจยังไม่เคยรับประทาน  ดิฉันว่ามันอร่อยดีนะ   จึงอยากจะแนะนำให้เพื่อน  ๆ  รู้จักและลองรับประทานดูบ้าง